
การตีความด้วยครอบฟ้าวัฒนธรรม
อ.ดร.รวิช ตาแก้ว
…
การตีความ “คำ” ด้วยข้อมูลเชิงวัฒนธรรมนำไปสู่การสรุปตามความเข้าใจของผู้ตีความ เป็นครอบฟ้าความรู้ของผู้ตีความ ถ้าการตีความคลาดเคลื่อนก็จะนำไปสู่การสรุปเพื่อเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปด้วย ข้อมูลส่วนย่อยที่นำใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานทางความคิดจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญในการสืบค้นข้อมูลที่สอดคล้องกับทรรศนะของเกิทช์ (Clifford J Geertz, 1926-2006) ที่กล่าวว่า วัฒนธรรมเป็นสัญญะชุดหนึ่งที่กำหนดกรอบชีวิตที่สังคมนั้นพอใจร่วมกัน ดังนั้น การตีความใดๆ จึงเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรม จึงเป็นการตีความสัญญะที่ถูกสื่อความหมายไว้กับสิ่งนั้น ดังนั้น ข้อมูลส่วนย่อยของวัฒนธรรมที่นำมากล่าวไว้จึงเป็นเสมือนครรลองทางความคิดที่นำไปสู่กรอบความคิดที่อยู่เบื้องหลังของความคิดดังกล่าว เพราะภาษาไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลเสมอไป ซึ่งความคิดและความเข้าใจไม่จำเป็นต้องอยู่ในขอบข่ายของเหตุผลทุกครั้งเช่นกัน Continue reading “การตีความด้วยครอบฟ้าวัฒนธรรม”