
ศ.กีรติ บุญเจือ (2550, 2559) :
การหาเนื้อหาคุณธรรมจริยธรรมมาสอนกันตามอัธยาศัยนั้นไม่ยากขอให้มีอุดมการณ์อยู่ในใจ ก็หาเนื้อหาตอบสนองได้มากมาย มีผู้มุ่งมั่นทำการมากมายหลายรูปแบบแล้วทั้งที่ทำกันในแต่ละศาสนาและที่ทำร่วมกันระหว่างศาสนา ทั้งที่ทำกันในแต่ละอุดมการณ์และรวมหลายอุดมการณ์ แต่ทำอย่างไรจึงส่งเสริมสามัคคีและธรรมาภิบาลไปด้วยในตัวอย่างแท้จริง
หลังจากถกเถียงกันอย่างถึงพริกถึงขิง จึงได้ผลสรุปออกมาว่า เราต้องเริ่มจาก
คุณธรรมจริยธรรมแห่งความเป็นมนุษย์
โดยสร้างความสำนึกให้คนไทยทั้งชาติเสียก่อนว่า ทุกคนเป็นคนก่อนจะนับถือศาสนาและการเข้าสู่ฐานะใดในสังคม เราจึงต้องเริ่มจากการสอนให้คนไทยทุกคนตระหนักเสียก่อนว่าทุกคนเป็นคน มีคุณธรรมจริยธรรมกำกับเพื่อการเป็นพลเมืองไทยที่อยู่ร่มเย็น
เป็นสุขกับเพื่อนร่วมชาติ ให้ต่างก็มีความสุขด้วยกัน มิฉะนั้นเขาจะไม่ใช่คนที่พึงประสงค์และคนไทยที่พึงประสงค์ ศาสนิกที่พึงประสงค์และมืออาชีพที่พึงประสงค์
ข้อเท็จจริงยืนยันต่อไปว่า คนไทยส่วนมากมีศาสนาประจำใจ จึงเป็น คน+ศาสนา เป็น คนมีศาสนา มีศาสนาต่อยอดความเป็นคน ศาสนาเสริมความเป็นคน เพราะศาสนาแต่ละศาสนา ต่างก็มีหลักศีลธรรม ที่จูงใจให้ ผู้มีศรัทธานำไปปฎิบัติ จนเกิดความสุขกายสุขใจ ตามแนวทางที่มี ผู้ได้ปฎิบัติไว้เป็นตัวอย่างมากมายแล้วในอดีต ซึ่งต่างก็ได้บรรลุเป้าหมายของชีวิตอย่างน่าภูมิใจ และมี คุณค่า ศีลธรรมของแต่ละศาสนาจึงเป็นวาระต่อยอดของคุณธรรมจริยธรรมแห่งความเป็น มนุษย์ ที่พลเมืองไทยทุกคนมีร่วมกันไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม
แค่นี้ยังไม่พอ คนไทยทุกคนยังมีฐานะใดฐานะหนึ่งในสังคมไทย และสังคมโลก ด้วยฐานะดังกล่าว เขามีโอกาสทำตัวให้มีคุณค่า โดยให้บริการแก่เพื่อนร่วมชาติตามความรู้ความสามารถและพรสวรรค์ของตน แต่ละฐานะในสังคม+ศาสนาที่แต่ละคนมีศรัทธา+คุณธรรมจริยธรรมแห่งความเป็นคน ผลลัพธ์ก็ออกมาเป็นคุณธรรมจริยธรรมของคนไทยแต่ละคนที่ มีความเป็นคนเป็นฐาน เสริมด้วยศีลธรรมของศาสนาที่ตนมีศรัทธา ค้ำจุนด้วยจรรยาบรรณแห่งอาชีพ ด้วยวิธีนี้สมานฉันท์จะเกิดขึ้นในสังคมไทยโดยอัตโนมัติ และหากได้ผู้นำที่มีจรรยาบรรณครบถ้วนประจำตำแหน่ง ธรรมาภิบาลก็จะเป็นบรรยากาศห่อหุ้มผืนแผ่นดินไทย ภายใต้บารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้ทรงประทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไว้เป็นประการแรกแห่งคุณธรรม
Continue reading “สอนคุณธรรมอย่างไรให้ธำรงสามัคคี” →