ศ.กีรติ บุญเจือ…
ปรัชญาศิลปะนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาสุนทรียศาสตร์ แต่ถ้ามองจากมุมมองของนิยามที่เหนือขึ้นไปอีกของปรัชญาประยุกต์ซึ่งถือเอาผลสรุปของความรู้ต่าง ๆ มาคิดต่อยอดอย่างปรัชญา ปรัชญาศิลปะจึงเป็นการนำเอาสุนทรียศาสตร์สาขาอื่น ๆ ทั้งหมด ได้แก่ ประวัติศาสตร์ศิลปะ วิจารณ์ศิลปะ ทฤษฎีศิลปะ จิตวิทยาศิลปะ สังคมวิทยาศิลปะ มาเป็นข้อมูล พยายามค้นหาคำถามที่อาจจะมีได้จากข้อมูลเหล่านั้น แล้วตีความปัญหาดังกล่าวด้วยระบบปรัชญาบริสุทธ์เท่าที่เราทราบหรือสนใจ สุนทรียศาสตร์จึงเป็นฐานรองรับปรัชญาศิลปะนั่นเอง
องค์ประกอบของศิลปะ มี 4 อย่าง คือ
- สื่อ (media) ได้แก่ สิ่งที่ศิลปินนำมาใช้เพื่อถ่ายทอดการสร้างสรรค์ของตนให้ประจักษ์แก่ผู้อื่น เช่น ผ้าใบและสีสำหรับจิตรกรรม หินอ่อนสำหรับประติมากรรม คำพูดสำหรับกวีนิพนธ์
- เนื้อหา (content) ได้แก่ เรื่องราวที่ศิลปินแสดงออกมา โดยใช้สื่อที่เหมาะสม
- สุนทรียธาตุ (aesthetical elements) มีได้ 3 อย่างคือ ความงาม (beauty) ความแปลกหูแปลกตา (picturesqueness) และความน่าทึ่ง (sublimity)
- ธาตุศิลปิน (artistic elements) ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิดและชีวิตจิตใจ รวมทั้งความหลังและความใฝ่ฝันของศิลปินที่แฝงอยู่ในศิลปกรรมที่เขาสร้างสรรค์ขึ้นมา ธาตุเหล่านี้ศิลปินอาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจจะสอดแทรกเข้าไปก็ได้ แต่จะมีสอดแทรกอยู่เสมอ เช่น ความเคารพ หรือความรู้สึกเหยียดหยามที่ศิลปินมีต่อบุคคลที่เขากำลังวาดอยู่ จะสอดแทรกเข้าในศิลปกรรมชิ้นนั้นด้วย
Continue reading “ปรัชญาศิลปะ”