ผศ.(พิเศษ) ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต
หลังนวยุคสุดขั้ว (postmodern in extreme way) ได้ชี้ให้เห็นภัยของการมีเครือข่ายเชิงโครงสร้างที่ครอบงำสังคมเอาไว้ จึงได้มุ่งทำการรื้อถอน (deconstruction) โครงสร้างเหล่านี้โดยจี้ปัญหาเชิงระบบต่างๆ ด้วยวาทกรรมที่ชวนให้สะดุดคิดและทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในหลายประเทศจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทิศทางของประเทศและประชาชนไปตามอุดมคติของแต่ละคนด้วยมโนทรรศน์ที่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะออกมาในรูปไหน ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้หลังนวยุคสายกลาง (postmodern in moderate way) มองย้อนว่า นี่ก็เป็นปัญหาอย่างใหม่เช่นกัน คือ การไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าควรจะทำอะไร และแน่นอนว่า หลังนวยุคสายกลางก็ไม่อาจให้คำตอบได้เช่นกัน การจัดการสังคมเป็นเรื่องที่นวยุค (modernism) มีความชำนาญกว่า เพราะเป็นเรื่องของระบบ แต่หลังนวยุคสายกลางสนใจการเข้าใจที่ลึกซึ้งกว่าเดิมเพื่อที่จะได้เสนอแนะการแก้ไขปัญหาให้ได้รอบคอบยิ่งขึ้น การศึกษาและการเรียนรู้ต่างๆ จึงมิใช่เพื่อการวิพากษ์ แต่เป็นการใช้วิจารณญาณเพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ให้แยบคาย การวิจักษ์ข้อดีข้อเสียและการวิธานเพื่อการประยุกต์ใช้ โดยมองไปที่การประยุกต์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนและการพัฒนาคุณภาพสังคม
Continue reading “เครือข่ายโครงสร้างสังคมหลังนวยุคสายกลาง”