ปรัชญาคืออะไร
การตอบว่าคืออะไร ก็คือ การนิยาม เป็นการให้ความหมายตามความเข้าใจของเราและเพื่อให้คนอื่นเข้าใจตรงกัน ดังนั้นจะต้องบอกเป็นประเภทอย่างกว้าง (genus) และประเภทเจาะจง (species) เช่น มนุษย์ คือ สัตว์ (genus) เหตุผล (species)
ในความเป็นจริง ไม่มีนิยามใดของปรัชญาที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายโดยดุษฎี ปรัชญาคืออะไร จึงตอบไม่ได้ เพราะความสนใจของปรัชญาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และพื้นที่
อย่างไรก็ตาม กีรติ บุญเจือ (2559) ได้นิยามปรัชญาว่า “ปรัชญาคือ วิชาว่าด้วยปัญญา” หรือ ภาษาอังกฤษว่า Philosophy is the knowledge about mind: its nature and activities for internal outcome and external outcome
เนื้อหาปรัชญา
ปรัชญาเริ่มจากคำถาม เนื้อหาปรัชญาก็มาจากคำถาม ได้แก่
- ความเป็นจริงคืออะไร (what is reality)
- อภิปรัชญา (metaphysics)
- เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร (how to know reality)
- ญาณวิทยา (epistemology)
- อะไรเป็นเครื่องมือในการค้ำประกันความจริง
- ตรรกวิทยา (logic)
- เราจะเอาปรัชญาบริสุทธิ์ไปตีความผลสรุปของวิชาอื่นๆได้อย่างไร
- ปรัชญาประยุกต์ (applied philosophy)
วิชาที่แยกออกจากปรัชญา
ปรัชญาประยุกต์เมื่อเจริญก้าวหน้าและมีเนื้อหาของตนเองมากพอก็จะแยกออกไปเป็นวิชาการเฉพาะ (subject) ตัวอย่างเช่น
- ศาสนา การตอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความสำนึกของมนุษย์
- คณิตศาสตร์ ได้พัฒนาเนื้อหาเฉพาะตัวในด้านการคำนวณ
- วิทยาศาสตร์ ค้นพบวิธีการวิทยาศาสตร์ แยกไปเมื่อศตวรรษที่ 15
- สังคมศาสตร์ ใช้ระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์ แยกไปปลายศตวรรษที่ 19
- จิตวิทยา ใช้ระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์ แยกไปเมื่อ 1920
ตัวอย่างปัญหาปรัชญา
“เอกภพมาจากไหน?”
เอกภพ คือ cosmos จักรวาลที่เป็นระเบียบแบบแผน หมายถึง universe as a complex and orderly system ความสงสัยในปัญหานี้ทำให้เกิดวิชาจักวาลวิทยา cosmology ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของอภิปรัชญา สิ่งตรงข้ามกับ cosmos คือ chaos การตอบคำถามด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ได้แยกทำให้เกิดการแยกตัวออกมาเป็นวิชาดาราศาสตร์ astronomy
ทำไมจึงเป็นคำถามปรัชญา เพราะ มนุษย์อยากรู้ว่าตนเองมาจากไหน โลกมาจากไหน คือการมองหา origin
คำตอบที่เป็นไปได้
มีผู้ตอบมาตั้งแต่อดีต แต่ก็ยังไม่มีคำตอบใดที่ตอบได้จนหมดปัญหา
- เทววิทยา ตอบตามความเชื่อศาสนาว่า “มีพระเจ้าสร้างโลก”
- วิทยาศาสตร์ ตอบว่า มีการค้นพบวิทยาศาสตร์ว่าเอกภพเกิดจากหมอกเพลิง (nebula) อายุ 15,000 ล้านปี โดยมีการระเบิดออก (supernova) ได้ดาวฤกษ์เมื่อ 10,000 ล้านปีก่อน หรือ ก๊าซในหมอกเพลิงคือ interstellar gas รวมตัวกันเป็นเมฆแล้วจึงระเบิดออกเป็นดาวฤกษ์
- ดาราศาสตร์ ตอบว่า เอกภพที่เราสนใจกันนี้ มันกำลังขยายตัว แสดงว่า ดาวฤกษ์ แกแลคซี่กำลังเคลื่อนที่ออกจากเรา ดังนั้น เอกภพจึงน่าจะเกิดจาก big-bang แต่ก็มีผู้ที่พบว่าสสารทุกอย่างในเอกภพในภาพรวมยังคงเหมือนเดิม จึงเชื่อว่าเอกภพเกิดจาก steady state
ทำไมจึงยังเป็นคำถามปรัชญา
มีคำตอบแต่ยังตอบไม่หมด เพราะมีคำถามต่อที่ยังตอบไม่ได้
- คำถามต่อคำตอบเทววิทยา พระเจ้าย่อมเป็นผู้สร้าง (creator) ย่อมเป็นผู้สร้างหมอกเพลิง แล้วใครสร้างพระเจ้า พระเจ้าสร้างทุกอย่างจากความว่าง หรือ พระเจ้าสร้างทุกอย่างเพื่อแสดงพระองค์ คำตอบเหล่านี้ยังคงถกเถียงกันอยู่จนทุกวันนี้
- คำถามต่อวิทยาศาสตร์ หมอกเพลิงที่มีอยู่นี้จะเย็นลงไปเรื่อยๆ จนถึง 0 องศาเคลวิน ซึ่งเป็น (absolute degree) ได้ไหม แล้วจะกลับมาร้อนใหม่ได้อีกไหม แล้วจะเย็นสลับร้อนไปมาหรือไม่ วิทยาศาสตร์ยังคงไม่อาจให้คำตอบได้
- คำถามต่อดาราศาสตร์ เมื่อกาแล็คซี่ขยายตัวไปเช่นนี้มันจะชนกันเองไหม แล้วมีขอบที่สุดที่มันจะขยายไปไหม ถ้ามีแสดงว่าเมื่อขยายตัวไปจนถึงที่สุดจะมีการหดกลับเข้ามาใช่ไหม
จากตัวอย่างคำถามปรัชญา เป็นการยืนยันว่า คำถามสำคัญของมนุษย์ที่ว่า ความเป็นจริงคืออะไร จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์สนใจไม่จบสิ้น ความเป็นจริงจึงเป็น reality อยู่อย่างนั้น ถ้าไม่มีความเป็นจริงก็คือ nothingness เรารู้ความเป็นจริงได้อย่างไร ทำให้มนุษย์คิด พิสูจน์ ถ้าพบว่าสิ่งที่เราคิดตรงกันกับความเป็นจริงก็คือ ความจริง (truth) แต่ถ้าสิ่งที่คิดไม่ตรงกับความเป็นจริงคือความเท็จ (false)
สรุป
ปรัชญาเริ่มจากคำถามและนำไปสู่คำตอบ คำตอบที่ชัดเจนมีหลักการของตนก็แยกออกเป็นวิชาใหม่ ส่วนที่ยังไม่มีใครตอบได้และส่วนที่ต้องคิดให้ลึกซึ้งจึงเป็นพื้นที่ของการคิดปรัชญาซึ่งต้องย้อนกลับไปถึงคำถามปรัชญาให้ได้ และตอบอย่างปรัชญาคือ ความเป็นจริงและความจริง ทั้งนี้ความรู้ในวิชาต่างๆ สามารถประมวลมาเป็นเหตุผลในการตอบคำถามได้ในฐานะคำตอบที่เป็นไปได้เท่านั้น
2 thoughts on “ปรัชญาศึกษา: บทที่ 3 เนื้อหาปรัชญา”