Classical Greek philosophy
ปรัชญากรีกยุครุ่งเรือง เป็นช่วงเร่งหากฎความจริง (ก.ค.ศ.450-322) ยุคสั้นๆ ตั้งแต่ Socrates จนถึง Aristotle และเหล่า Sophists แห่งกรุงเอเธนส์ สนใจมาตรการความจริง จึงเกิดคำถามสำคัญคือ ความจริงที่แน่นอนตายตัวมีหรือไม่ มีมาตรการสากลหรือไม่ ถ้าไม่มีทำไมจึงไม่มี ถ้ามีอยู่ที่ไหน
- Sophists ต่างตอบว่า ไม่มี เพราะโครงสร้างสมองของมนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน
- Socrates ตอบว่า มี อยู่ในสมองของมนุษย์ เพราะโครงสร้างสมองของมนุษย์เหมือนกัน
- Plato ตอบว่ามี อยู่ใน world of Idea เพราะสมองของเราไม่สามารถค้ำประกันความสากลได้
- Aristotle ตอบว่ามี อยู่ในโลกนี้ เพราะโลกแห่งมโนคติเป็นสิ่งสมมติ
Sophists คือเหล่านักปราชญ์ใหญ่จากที่ต่างๆ ที่มารวมตัวอยู่ในกรุงเอเธนส์ มักมีความสามารถด้านการปราศรัย ถกเถียงความคิดเห็นต่างๆ ปรัชญารู้ว่ามี sophist จากงานเขียนของ Plato ที่สร้างเป็นบทสนทนาของเหล่า sophists กับ Socrates นักปรัชญาตยสำคัญแห่งยุคได้แก่
- Protagoras of Abdera (ก.ค.ศ.481- 411) รู้ปรัชญาเรื่อง atom ของ Democritus และความคิดเห็นของสำนักต่างๆ อย่างดี มีวาทศิลป์ เป็นคนแรกที่สงสัยถึงมาตรการสำหรับตัดสินความจริงและความดี เห็นว่ามีคำสอนหลายสำนักถึงปฐมธาตุแตกต่างกัน แล้วก็ทะเลาะกัน เพราะต่างก็เชื่อว่าความคิดสำนักตนนั้นจริงฝ่ายเดียว ไม่น่าจะมีมาตรการความจริงสากล เพราะโครงสร้างสมองของแต่ละคนต่างกัน จึงเสนอว่า Man is the measure of all things
- Socrates (ก.ค.ศ.470- 399) กรุงเอเธนส์ปกครองแบบประชาธิปไตย มีพรรคการเมือง มีการแข่งขันชิงตำแหน่งหน้าที่ คนเอเธนส์ติดใจเหล่า sophist และพากันตั้งข้อสงสัยกับทุกสิ่ง พอใจกับเสรีภาพที่จะคิด Socrates เห็นว่าเสรีภาพที่จะคิดอย่างเลยเถิดนี้เป็นจุดอ่อนของประชาธิปไตย เพราะเปิดโอกาสให้เอาเปรียบกันทางความคิดได้อย่างเสรี เล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงต่างๆ แพร่หลายเพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน ช่วงชิงตำแหน่ง จนกระทั่งทำให้สังคมสั่นคลอนได้ ศัตรูย่อมใช้ความคลางแคลงใจมาเป็นประโยชน์และเอเธนส์จะล่มสลายได้ Socrates เสนอแนวคิดที่จะทำให้สังคมอยู่อย่างสงบสุข นั่นคือมีความยุติธรรม ยุติธรรมจะเกิดได้ต้องมีมาตรการเดียวสำหรับตัดสินความจริงและความดี มาตรการสากลคือ ความรู้ที่ตรงกับวัตถุแห่งความรู้ มนุษย์มีปัญญาคิดได้เอง (Know thyself) แต่มีกิเลสจึงทำให้เห็นผิดได้ จึงควรฝึกเพ่งพินิจ (contemplation) Socrates เสนอ
- god arranges everything for the best
- Socratic method of dialectics
- I know that I know nothing
- Virtue (all virtue) is knowledge
- Virtue is sufficient for happiness
- ideals belong in a world only the wise man can understand (มีแต่ปราชญ์จึงเข้าใจโลกและเหมาะที่จะเป็นนักการเมือง)
- Plato (ก.ค.ศ.427- 347) เกิดในตระกูลนักการเมือง เรียนเพื่อจะเป็นนักการเมือง แต่เห็นผลร้ายจึงหมดกำลังใจ ต้องการหาวิธีแก้ความบกพร่องทางการเมือง ค้นคว้าหาความรู้ให้ได้หลักการจริงๆ แล้วถกเถียงให้ความรู้นั้นแน่นแฟ้นเป็นแก่นสาร จากนั้นรอเวลาให้ความรู้นั้นกระจายไปในหมู่ชน ผลของการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ จะทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่หักโหม เปิดสำนัก Academic ที่ซุ้มอคาเดมิคของสวนสาธารณะกลางกรุงเอเธนส์
- มนุษย์มีโครงสร้างสมองเหมือนกัน คิดได้เหมือนกัน แต่มีกิเลสต่างกันทำให้คิดเห็นต่างกันไป
- ความรู้ที่ได้จากการเพ่งพินิจจนเกิดภาวะไร้กิเลส คือ มาตรการความจริงสากล
- World of Ideas ประกอบด้วยตัวแบบ (form) เป็นอัตวิสัยที่มนุษย์เข้าใจได้ผ่านมโนทรรศน์ (concept) และมีวัตถุวิสัยที่เป็นอิสระจากความคิดของมนุษย์ทุกคน เป็นสิ่งนิรันดร์
- มนุษย์รู้ world of ideas เมื่อยังเป็นวิญญาณอมตะก่อนที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วมาระลึกรู้ทีหลัง
Plato เสนอให้มีการรื้อฟื้นความทรงจำ (reminiscence) ผ่าน 3 ขั้นตอน มีประสบการณ์ (experience) การเรียนรู้ (learning) การเพ่งพินิจ (contemplation)
โลกนี้เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จึงไม่อาจบรรจุความจริงสากลได้ ความจริงสากลจึงต้องอยู่ในอีกโลกหนึ่ง และแต่ง Republic เพื่อแสดงถึงนครรัฐในอุดมคติ โดยมีคน 3 ระดับคือ
- Productive คือคนที่ทำอาชีพต่างๆ เป็น appetite part of soul
- protective คือ ทหาร นักรบ เป็น spirit part of soul
- Governing คือผู้ปกครอง เป็น reason part of soul
การสอนเน้นบทสนทนาระหว่าง Socrates กับเหล่า sophists (มักจะเป็น Zeno)
- Aristotle (ก.ค.ศ.384- 322) เกิดในตระกูลแพทย์ เรียนที่สำนัก Academic จนอายุ 37 ปี จัดระเบียบความคิดและเขียนงานไว้มาก หลากหลายด้าน แต่ไม่ได้เป็นเจ้าสำนักต่อจาก Plato
เมื่อได้ไปสอน Alexander of Macedon จึงได้ตั้งสำนัก Lyseum และเขียนงานเพิ่มจำนวนมากโดยมีความเป็นตัวของตัวเองที่ต่างไปจากแนวคิดของ Plato โดยเสนอว่ามาตรการความจริง คือ ประสบการณ์
จากประสบการณ์ต้องถอดความจริงสากล (abstractation) ด้วย
- วิเคราะห์ (analysis)
- คัดออก (elimination)
- สังเคราะห์ (synthesis)
ผลงานสำคัญคือ เสนอเรื่อง mathematical logic เพื่อพิสูจน์ความจริง แบบ deductive inference (นิรนัย) เขียนหนังสือชุด Organon เพื่อนำเสนอวิธีการใช้ logic ในเชิง dialectic
Aristotle เสนอ fifth element คือ สรรพสิ่งเกิดจากดิน น้ำ ลม ไฟ และ ไอเธอร์
ผลงานเขียนมีเนื้อหาเน้น
- cause and effect
- universal กับ particular
- สอนเรื่อง kinesis
- Growth and diminution เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณ
- locomotion เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่
- alteration เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ
- สอนจิตวิทยา จากหนังสือ De Anima
- the vegetative soul เพื่อเติบโตและแข็งแรง
- the sensitive soul เพื่อมีประสบการณ์และการเคลื่อนไหว
- the rational soul เพื่อการรับรู้ตัวแบบและการเปรียบเทียบต่างๆ
Aristotle เสนอใน Nicomachean Ethics ว่า virtue has to do with proper function of a thing โดยเสนอว่า Eudaimonia การมุ่งความสุขของ soul อย่างมีเหตุผล (reason) มนุษย์ต้องฝึกฝนจนมี arete ทางปัญญา และปฏิบัติจนเกิด phronesis และมีปัญญา (nous) ที่จะพัฒนาแต่ละด้านให้ดีขึ้นไปสู่ระดับที่สูงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งนี้ การเมืองสำคัญกว่าครอบครัว ครอบครัวสำคัญกว่าปัจเจกบุคคล การเมืองมีลักษณะ organism ที่จะหลีกเลี่ยง injustice และ มุ่งหา economic stability
ญาณปรัชญาแบบกรีก
ญาณปรัชญาแบบกรีก คือ มาตรการความจริงสากล โดยมี 3 แนวคิด คือ
- Sophists เห็นว่ามนุษย์แต่ละคนมีโครงสร้างของปัญญาไม่เหมือนกัน จึงไม่มีมาตรการสากล มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้ประเมินความจริงอย่างอัตวิสัย (subjectivism)
- Plato เห็นว่าความจริงสากลมี เพราะมนุษย์มีสมองที่เหมือนกัน แต่โลกนี้ไม่อาจรองรับได้ ความจริงจึงอยู่ที่ตัวแบบในโลกแห่งมโนคติ มนุษย์รู้ได้ผ่านวิญญาณของตน (transcendental objectivism)
- Aristotle เห็นว่ามาตรการสากลของความจริงคือ ส่วนที่เหมือนๆ กันในสิ่งเฉพาะหน่วยในโลกนี้นั่นเอง (immanent objectivism)
สรุป
ปรัชญากระบวนทรรศน์โบราณยุคคลาสสิกมีนักปรัชญาสำคัญคือ โสเครติส เพลโต และอริสโตเติล ที่ยังคงแสวงหากฎความเป็นจริงและวิธีพิสูจน์ความจริง รวมไปถึงการจำแนกเนื้อหาวิชาที่ศึกษาเป็นหมวดหมู่อันเป็นการวางรากฐานวิชาต่างๆ ที่ก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน และการศึกษายังคงกระทำอยู่ชื่อปรัชญาสกุลอริสโตเลเนียน (Aristotlenian) เพื่อศึกษางานของอริสโตเติลที่ยังมีอยู่ให้ลึกซึ้ง
2 thoughts on “ปรัชญาศึกษา: บทที่ 6 กระบวนทรรศน์โบราณ-2”