สาระสังเขป
วารสารปรัชญาหลังนวยุค นำเสนอบทความวิชาการ บทความวิจัย และการวิจารณ์หนังสือ ในสาขา ปรัชญาและปรัชญาประยุกต์ ได้แก่ อภิปรัชญา ญาณปรัชญา จริยศาสตร์ ตรรกวิทยา ปรัชญาวิทยาศาสตร์ ปรัชญาสังคมศาสตร์ ปรัชญามนุษย์ และสาขาอื่นๆ ที่มีแนวทางเกี่ยวข้องในระดับปรัชญา ทั้งนี้บทความทุกเรื่อง มีผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขาวิชาเป็นผู้ประเมินบทความ (double blinded peer review) เพื่อให้บทความที่ตีพิมพ์มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากลเพื่อนำไปสู่การเกิดองค์ความรู้ใหม่ และต่อยอดการพัฒนาในศาสตร์ปรัชญาและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องต่อไป
ประวัติ/ความเป็นมา
วารสารปรัชญาหลังนวยุค เริ่มจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2560 เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ สามารถสืบค้นเพื่ออ้างอิงหรืออ่านบทความได้ที่ J Postmo Phil
วัตถุประสงค์
- เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research Paper) และบทความวิชาการ (Academic Paper) ที่มีคุณภาพด้านปรัชญาหลังนวยุค
- เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มพูนความรู้ทางปรัชญาแก่สังคม
นโยบายการรับบทความ
กองบรรณาธิการวารสารปรัชญาหลังนวยุค มีความยินดีรับตีพิมพ์บทความสาขาปรัชญาและสาขาปรัชญาประยุกต์ที่เกี่ยวข้อง เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ดังนี้
- ผลงานวิชาการที่ส่งมาขอตีพิมพ์ ต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
- การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง กองบรรณาธิการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการรับหรือปฏิเสธบทความเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Review) และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการฯ
- ข้อความที่ปรากฏภายในบทความแต่ละเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการและคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด ความรับผิดชอบด้านเนื้อหา รูปภาพและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบบทความของตนเอง
- ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
- ผู้ประสงค์จะส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฯ สามารถส่งบทความ ออนไลน์ได้ที่ https://philosophy-suansunandha.com/journal-of-postmodern-philosophy/
หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อกองบรรณาธิการวารสารปรัชญาหลังนวยุค อาคาร ศรุจุฑาภา ชั้น 5 ห้อง 2156 เลขที่ 1 ถ.อู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ อีเมล์
ผู้สนใจส่งบทความกรุณาอ่านรายละเอียดการส่งบทความ ซึ่งระบุไว้ใน website https://philosophy-suansunandha.com/journal-of-postmodern-philosophy/
กำหนดการเผยแพร่
วารสารปรัชญาหลังนวยุค กำหนดออกเผยแพร่ราย 6 เดือน ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้
ฉบับที่ 1: มกราคม-มิถุนายน (กำหนดออก มิถุนายน)
ฉบับที่ 2: กรกฎาคม-ธันวาคม (กำหนดออก ธันวาคม)
การจัดพิมพ์
เผยแพร่ฉบับ Online ที่ website https://philosophy-suansunandha.com/journal-of-postmodern-philosophy/
แหล่งผลิต
กองบรรณาธิการวารสารฯ
จรรยาบรรณการตีพิมพ์ (Publication Ethics)
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์
- ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่ และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
- ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ผู้มูลที่เป็นเท็จ
- นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในผลงานตัวเอง รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
- ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความวิจัยให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน Template ของวารสาร
- ผู้นิพนธ์ที่มีรายชื่อปรากฎในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยจริง
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร
- บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ
- บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และ ผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลใดๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- บรรณาธิการต้องตัดสินใจคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
- บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
- บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ เพราะความสังสัยหรือไม่แน่ใจ เขาต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ข้อสงสัยนั้นๆ ก่อน
- บรรณาธิการต้องไม่มีประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และทีมบริหาร
- บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น
- หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง ประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมา เพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- หลังจากได้รับบทความจากกองบรรณาธิการวารสารฯ ผู้ประเมินบทความตระหนักว่าตัวเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบ และปฏิเสธการประเมินบทความนั้นๆ
- ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อสาขาวิชานั้น ๆ คุณภาพของการวิเคราะห์และความเข้มข้นของผลงาน ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความวิจัย
- ผู้ประเมินต้องระบุผลงานวิจัยที่สำคัญๆ และสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในการประเมินบทความด้วย นอกจากนี้ หากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินต้องชี้แจงให้บรรณาธิการทราบด้วp
^^^^^^^^^**********^^^^^^^^^