ลัทธิพลังงานนิยม
อ.ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต
……………
ลัทธิพลังงานนิยม [Energeticism] ถือเป็นลัทธิความคิดที่แสดงความเป็นปรัชญานวยุค (modern philosophy) อย่างที่่สุด แนวคิดหลักเป็นมุมมองต่อโลกกายภาพตามแนวทางสสารนิยม (materialism) โดยมองว่าพลังงานเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพทั้งหลาย แนวคิดนี้ตั้งอยู่บนภววิทยาหรือปรัชญาของสิ่งเป็นอยู่ (Being) โดยมีทรรศนะว่า ทุกสิ่งที่มีองค์ประกอบที่ย่อยสุดเป็นพลังงาน แนวคิดนี้ตรงกันข้ามกับแนวคิดมโนคตินิยม (idealism) ซึ่งเน้นว่าสรรพสิ่งมีจิตเป็นพื้นฐาน แนวคิดพลังงานนิยมนี้มีฐานคิดที่อาจจะเชื่อมโยงไปยัง Ernst Mach (1838-1916) ซึ่งนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักปรัชญา แม้ว่าทัศนคติของเขาต่อเรื่องนี้ก็ยังไม่ชัดเจนแต่ได้มีการยกย่องผ่านนักเคมี Wilhelm Ostwald (1853-1932)
ด้วยทรรศนะที่มีต่อพลังงาน เชื่อว่า มนุษย์ใช้เวลากว่า 200,000 ปี เป็นอย่างต่ำในการพัฒนามาสู่การดำรงอยู่ในปัจจุบัน และมนุษย์ต้องใช้เวลาอีกหลายปีที่รู้ตำแหน่งแห่งหนของเราอย่างแท้จริง ชัดเจน ในการอยู่ร่วมกันบนโลกนี้ เพื่อที่จะเข้าใจโลก จะต้องเข้าใจในพลังงาน และชีวิตบนโลกใบนี้
ผู้นิยมปรัชญาลัทธิพลังงานนิยมจะมีความเชื่อใน การตระหนักรู้ของจักรวาล (the Universe aware of itself) ความเป็นร่างชีวิตพลังงาน (energetic beings) การตื่นรู้ความมีอยู่ (awarenesses of existence) และเชื่อว่ามนุษย์กำลังเริ่มเข้าสู่การเริ่มต้นแห่งความก้าวหน้า (begin of the progress)
แนวคิดพลังงานนิยมยังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับสุขภาพและโครงสร้างการรักษาตนเองของร่างกาย นอกจากนี้ พลังงานยังเป็นภาวะของร่างกายและจิตใจ การรักษาอารมณ์ไว้จะเป็นการรักษาความสมดุลของสุขภาพอย่างแท้จริงและทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (holistic health engine) ซึ่งสอดคล้องกับภาวะสุขภาพองค์รวม (holistic health wellness) ของเพลโต
อย่างไรก็ตาม Energeticism ถูกปฏิเสธเนื่องจากแนวทางการเรียนรู้ปรัชญาโดยเฉพาะปรัชญาสกุลอริสโตเติล อีกทั้งแนวคิดพลังงานนิยมได้ปฏิเสธการมีอยู่ของโลกภายใน (micro-world) ซึ่งเป็นแนวคิดของ Lugwig Boltzmann (1844-1906) นักเคมี และ Max Planck (1858-1947) นักฟิสิกส์ ที่ต่างเสนอว่าสสารและพลังงานนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนั้น พลังงานโดยตัวมันเองนั้นไม่สามารถเป็นหน่วยพื้นฐาน (fundamental unit) ของสรรพสิ่งได้ ซึ่งต่างหลักปฐมธาตุอื่นๆ (first element)
ในปัจจุบัน แนวคิดพลังงานนิยมกลับมาได้รับความนิยมโดยนักหลังนวยุคในระดับผู้วิเศษ (wizardise) เพื่ออธิบายโลก โดยอธิบายจิตในฐานะพลังงาน และใช้แนวคิดฟิสิกส์ควอนตัมเพื่อสนับสนุน ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้อยู่ในกระบวนทรรศน์นวยุค นำไปสู่การเชื่อในแนวคิดระบบจักรวาล (universal system) อเทวนิยม (atheism) และ พลังงานโลกุตวิสัย (secular energeticism) โดยทำให้เกิดทรรศนะร่วมของผู้คนต่อธรรมชาติในฐานะพลังงานที่มีผลถึงกันอย่างสมบูรณ์