กลุ่มลัทธิจิตนิยม ( Idealism, Monism, Spiritualism, Psychism, Brahamanism) มีแนวคิดที่เชื่อว่า ความจริงแท้หรือความจริงสูงสุดเป็นจิต หรือ อสสารที่มีอยู่นิรันดรไม่เปลี่ยนแปลงและเป็นหลักหรือกฎเกณฑ์ของสสาร
1) ลักษณะทั่วไป
(1) เนื้อแท้ของโลกเป็นอสสาร ไม่ได้เป็นสสารดังที่พวกสสารนิยม เชื่อว่านอกจากสสารแล้วยังมีอสสาร ซึ่งมีสภาพความเป็นจริงมากกว่าสสารและโลกของสสาร ที่สำคัญคืออสสารมีลักษระไม่กินที่ ไม่อยู่ในระบบของอวกาศและเวลา และสามารถรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 หากมีอยู่จริงไม่ใช่อยู่ในความคิด แต่เป็นจริงในตัวของมันเอง ทั้งนี้ อสสารก็คือจิตนั่นเอง
(2) มีลักษณะนิรันดร (eternal) คือไม่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นตัวอธิบายความเปลี่ยนแปลงในโลกของวัตถุ
(3) มีโลกอิสระของตัวเอง คือไม่ขึ้นต่อโลกของสสาร แต่โลกของสาสารต้องขึ้นต่อโลกของอสสาร เพราะไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง **ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่ทำให้โลกของวัตถุมีกฎเกณฑ์
(4) อยู่นอกเวลาไม่รู้เกิด ไม่รู้ดับ และเป็นจริงสากล
(5) ค่าต่าง ๆ มีอยู่จริง มีต้นต่ออยู่ในโลกของอสสาร จิตเป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม มนุษย์เป็นเพียงผู้ไปพบ ไม่ใช่ผู้คิดขึ้น
2) วิวัฒนาการของจิตนิยม
วิวัฒนาการมาจาก ปรัชญากรีกสมัยโบราณ เช่นเดียวกับสสารนิยม แม้จะมีนักปรัชญาที่มีแนวคิดแบบสสารนิยมมาก แต่ก็มีนักปรัชญาแบบจิตนิยม เช่น Parmenides จากการที่นักปรัชญาท่านนี้เฝ้าสังเกตความไม่เที่ยงแท้หรือความเป็นอนิจจังของสิ่งต่าง ๆ และพยายามค้นหาสิ่งที่เป็นนิรันดร์ จึงพบว่าโลกที่เราสัมผัสเป็นโลกแห่งการหลอกลวง
3) มนุษย์ในทรรศนะของจิตนิยม
มนุษย์นั้นประกอบไปด้วย 2ส่วน คือ ร่างกายที่เป็นวัตถุหรือสสาร และจิตวิญญาณซึ่งเป็นอสสาร และเชื่อวว่าเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ ขณะที่สสารนิยมถือว่ามนุษย์คือเครื่องจักร คือหุ่นยนต์ จิตนิยมถือว่า มนุษย์คือวิญญาณ โดยให้เหตุผลดังนี้
(1) มนุษย์นั้นมีการริเริ่ม ซึ่งแตกต่างจากก้อนหิน มนุษย์มีความรู้สึก ความอยาก ความต้องการ และเป็นตัวการริเริ่มทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว เพราะมนุษย์มีจิตวิญญาณเป็นผู้บังคับบัญชาร่างกายให้เคลื่อนไหวไปตามความประสงค์
(2) มนุษย์มีการเรียนรู้ มีความรู้สึกนึกคิด มีอารมณ์ที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ สามารถรับรู้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งความสามารถเหล่านี้ก้อนหินไม่มี เพราะก้อนหินไม่รู้ความแตกต่างระหว่าง วงกลมกับสี่เหลี่ยม ร้อนกับเย็น ความหิวและความอิ่ม ความรักและความเกลียด
(3) มนุษย์มีความรู้สึกขัดแย้ง เพราะมนุษย์มีองค์ประกอบ 2 อย่าง คือ จิตกับกาย แต่จิตนั้นสำคัญกว่า เพราะเป็นตัวตนที่แท้จริง ส่วนร่างกายนั้นมีการเปลี่ยนแปลงมีเกิดมีดับ จิตหรือวิญาณนั้นเป็นอมตะ แต่ถ้ามนุษย์มีเพียงร่างกายอย่างเดียว มนุษย์จะทำตามแรงปรารถนาทางร่างกายอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงถูกหรือผิด มีคุณหรือโทษหรือไม่ ดังนั้นมนุษย์จึงประกอบด้วยร่างกายและจิต เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกขัดแย้งขึ้น เมื่อต้องทำในสิ่งที่ผิดหรือให้โทษแก่ตนเองและบุคคลอื่น เพราะจิตสามารถสัมผัสกับสัจจธรรมและคุณธรรมได้ จึงสรุปได้ว่า ตัวตนของมนุษย์ที่แท้จริง คือ จิตวิญญาณ