อ.ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต :
พื้นฐานปรัชญาของความรู้
หลักการสำคัญของอริสโตเติลในการอธิบายมนุษย์คือ สัตว์ที่มีเหตุผล (Man is a rational man) ซึ่งปัญญา (nous) นั้นเป็นสิ่งที่มีในมนุษย์เท่านั้น และปัญญานี้มีศักยภาพในการวิเคราะห์ (analysis), สังเคราะห์ (synthesis), ค้ำประกัน (verify) และ หยั่งรู้ (insight) ซึ่งปัญญาที่มีสมรรถภาพที่ดี เรียกว่า ปรีชาญาณ (wisdom)
ปัญญาที่มีศักยภาพหยั่งรู้จะสร้างให้เกิดความรู้วิชาการเชิงเทคนิค (techne) และความรู้วิชาการ (ars) การรู้แต่เพียงทำซ้ำหรือแก้ปัญหาได้ เรียกว่าความรู้เทคนิค (rhompeira/technique) และ การรู้เพียงพอให้ทำงานได้ แต่ไม่อาจสร้างสิ่งใหม่ เรียกว่า ทักษะ (peira/skill)
Francis Bacon (1561-1625) ได้เสนอว่า “Knowledge is power” ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนผ่านยุคกลางไปสู่ยุคสมัยใหม่ แต่ในยุคปัจจุบันคนรุ่นใหม่มีเทคโนโลยีพร้อมใช้ จึงมองหาและสะสมข้อมูลข่าวสารไว้ในระดับที่เหนือกว่ามากกว่า เพื่อเอาเปรียบผู้อื่น
สังคมบนฐานความรู้ (Knowledge Based Society)
- กรอบคิดเชิงสังคมที่มุ่งแสวงหาสังคมคุณภาพอย่างใหม่
- เป็นแนวทางที่แสดงความสำเร็จของเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศในการสร้างสังคมที่ดีกว่า
- สังคมอุดมคติที่มนุษยชาติต้องการและเป็นสังคมที่มีสันติภาพและเสรีภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ปัญหาจริยศาสตร์ของความรู้
- หลักการ Knowledge is virtue ทำให้คนที่มีความรู้มากเชื่อมั่นว่าตนเองเป็นคนดีกว่าคนอื่น
- การมีฐานข้อมูลมากๆ เชื่อว่าจะทำให้มีความรู้เพียงพอที่จะสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นได้อย่างแข็งแกร่ง
- ความรู้คือพลัง ถูก ฟูโกล์ (Foucault) วิพากษ์ว่าเป็นความรู้คืออำนาจของนักการเมืองที่จะลวงหลอกประชาชน
- คนทั่วไปเชื่อมั่นว่าหากมีอาวุธที่เหนือกว่าย่อมทำให้ผู้อื่นเกรงกลัว ไม่กล้าเกิดข้อขัดแย้ง แต่ประวัติศาสตร์ก็แสดงว่า ผู้มีอาวุธมากกว่ากลับเป็นฝ่ายรุกรานเสียเอง ดังนั้น การมีความรู้มากกว่าก็ย่อมจะมีข้อคำนึงเช่นนี้ได้เช่นเดียวกัน
ความรู้ที่สำคัญตามปรัชญากระบวนทรรศน์
- ความรู้เกี่ยวกับเบื้องบน
- ความรู้เกี่ยวกับกฎและเกณฑ์
- ความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์และหลักศาสนา
- ความรู้เกี่ยวกับวิธีการวิทยาศาสตร์และความรู้วิทยาศาสตร์
- ความรู้เป็นชุดของความรู้ที่เราสนใจเท่านั้น มีชุดความรู้อื่นอีกมาก แต่เราถูกครอบงำด้วยชุดความรู้ที่ระบบสถาบันต้องการเท่านั้น
- ความรู้มีไว้เพื่อให้เราใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
จริยธรรมปัญญานิยม (Ethical intellectualism)
หลักการปัญญานิยมส่งเสริมจริยธรรม โดยยึดในหลักการของ Socrates ว่า “virtue is knowledge” คือ คุณธรรมเป็นความรู้ ไม่ใช่ความรู้คือคุณธรรม การมีความรู้มากก็เพื่อจะได้รู้จักและมีตัวเลือกในการปฏิบัติดีได้มาก ดังนั้นการมีชีวิตที่ดีจะต้องมีความสุขปัญญา (happiness) ในการทำสิ่งที่ถูกต้อง
หลักปรัชญาของ Heideggerian’s philosophy
จิตของมนุษย์เป็นจิตที่อยู่ในโลกเรียกว่า Dasein และมนุษย์เข้าใจโลกผ่านปรากฏการณ์ที่มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งด้วย (Being in the world) ทำให้มนุษย์กับสิ่งต่างๆ (Subject-Object relation) มีความสัมพันธ์บริสุทธิ์ (pure relation) ดังนั้น ข้อคำนึงในปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวหน้าก็คือ มนุษย์ถูกแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีและไม่อาจหนีออกไปจากมันได้ (Technology enframing)
มนุษย์กับความรู้
- ความรู้ทำให้มนุษย์มั่นใจ
- ปัญญาทำให้เกิดวัฒนธรรม
- มนุษย์แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา
- มนุษย์ชอบถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น
- การศึกษาจะทำให้มนุษย์รู้ว่าความรุนแรงและสงครามนั้นน่ากลัวเพียงใด
ปัญหาของมนุษย์กับสังคมฐานความรู้
- คนรุ่นใหม่ติดเทคโนโลยีจนขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง เข้าสังคมไม่เป็น อยู่เป็นกลุ่มคนไม่ได้
- สังคมถูกทำให้เกินจริง (hyper-reality)
- ผู้มีอำนาจต่างพยายามสะสมความรู้และฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนอำนาจของฝ่ายตน
- ช่องว่างระหว่าง info rich และ info poor ที่ขยายขึ้นในขณะที่เทคโนโลยีราคาถูกลง
สรุป
ปรัชญาสนใจความรู้ แต่ความรู้ก็เป็นปัญหาจริยศาสตร์ได้ ดังนั้น จึงต้องสนใจความรู้ทั้งในแง่อภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์และปรัชญาสังคม จึงจะเสนอทางแก้ปัญหาตามหลักหลังนวยุคสายกลางได้
One thought on “ปรัชญาของความรู้”