ทรรศนะต่อปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง
ศ.กีรติ บุญเจือ
ปรัชญาหลังนวยุค แบบสายกลางเป็นการเอาจริยศาสตร์มาเป็นปรัชญาบริสุทธิ์
วิชาจริยศาสตร์กับวิชาปรัชญาบริสุทธิ์รวมอยู่ด้วยกันเป็นสิ่งเดียวกันคือคุณลักษณะของปรัชญาหลังนวยุค
จุดเริ่มต้นของ Post Modern เริ่มต้นที่Saussure (โซสซู)ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า เรื่องของความคิดนั้นได้เริ่มต้นมาจากข้อเตือนใจของ Saussure ที่บอกว่าภาษาอารยัน เป็นภาษาที่แสดงความคิดของมนุษย์ได้อย่างตรงไปตรงมา ทำให้วิเคราะห์ได้ว่าภาษาเราที่เราใช้นั้นต้องทำบทบาท 3 อย่าง คือ 1) บทบาทแสดงอารมณ์ 2) แสดงความคิด และ 3) แสดงเหตุผล แต่นักหลังนวยุคได้พิจารณาแล้วมีความเห็นว่าความคิดกับเหตุผลน่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน
Aristotleได้แบ่งเป็น 3 ตอนเพราะความคิดของ Aristotle เริ่มตั้งแต่การที่มีสังกัป Apprehension ก่อนเป็นจุดเริ่มต้นของความคิด แล้วพอมี 2 ความคิดก็จะมาตัดสินเป็นประโยค พอตัดสิน 2 ครั้ง มีส่วนเหมือนกัน ก็จะมาตัดสินครั้งที่ 3 เกิดเป็น Syllogism เกิดเป็นรูปนิรนัยขึ้นมา Aristotle จึงแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ1) ช่วงรู้ว่าเป็นอะไร ก็เป็น Concept (ช่วงตัดสิน) และ 2) ขั้นใช้เหตุผล
นักภาษา นักตรรกวิทยา คนที่คิดเรื่องนี้ ก่อนที่จะคิดแบบหลังนวยุค จึงมองเห็นเหมือนกันว่าภาษามีบทบาท 3 อย่าง คือ 1) แสดงความรู้สึก2) แสดงความเข้าใจและ 3) แสดงเหตุผล การใช้เหตุผลนั้นมีเป้าหมายคือเพื่อ สร้างความเชื่อถือ ชักชวนให้คนมาเชื่อตามเรา ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับความเข้าใจ
หลังนวยุคมองว่า ความเข้าใจกับเหตุผล มันไม่ใช่เป็นคนละเรื่อง มันเป็นการขยายผลออกไปโดยอัตโนมัติของสัญชาตญาณของปัญญาของเรา เมื่อเราเข้าใจอะไรสองสิ่งแล้ว มันไม่อยู่เฉยๆ ต้องตัดสิน ถ้าตัดสินทีเดียวก็ทิ้งไว้ก่อน แต่ถ้าตัดสินสองครั้งและเห็นว่ามีส่วนหนึ่งเหมือนกัน มันต้องทำต่อไปทันทีเลยเป็นกระบวนการต่อเนื่อง แล้วเอาสิ่งที่ไม่เหมือนกันมาตัดสินเป็นครั้งที่สาม กลายเป็นการอ้างเหตุผล
หลังนวยุคสายกลาง ไม่อยากที่จะสร้างอภิปรัชญาระบบใหม่ขึ้นมา
ระบบอภิปรัชญาคือ ต้องการที่จะสร้างคำสอนเพื่อยืนยันเกี่ยวกับความคิดของเราว่าตรงไหนที่ตรงกับความเป็นจริง ตรงไหนที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยต้องมีเกณฑ์ เมื่อมีเกณฑ์ ก็มีคนไม่เชื่อ เมื่อไม่เชื่อก็ต้องไปหาเกณฑ์ใหม่ และเมื่อถ้ามีคนไม่เชื่อไปเรื่อยๆก็จะมีการสร้างเกณฑ์ใหม่ขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เฉกเช่นเดียวกันจึงทำให้ไม่สามารถหาข้อยุติได้
เมื่อหลังนวยุคบอกว่าที่ผ่านมานั้น ไม่มีความน่าเชื่อถือ ไม่เอาระบบอภิปรัชญา เพราะถ้าเอาก็จะยึดมั่นถือมั่น แต่ปรัชญาก็ต้องมีอภิปรัชญา จึงเอาจริยศาสตร์มาเป็นอภิปรัชญา แต่ในสมัยก่อน จริยศาสตร์นั้นก็ต้องมาจากอภิปรัชญา ดังนั้นเมื่อไม่เอาอภิปรัชญา ต้องหมายความว่า ไม่เอาจริยศาสตร์ที่ผ่านมาแล้วด้วย จึงมีการสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาโดยในขณะเดียวกันเป็นทั้งอภิปรัชญาและเป็นทั้งจริยศาสตร์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนและเมื่อพูดไปแล้วคนไม่สามารถปฏิเสธได้ ซึ่งความสุดยอดที่ว่านี้ก็คือ“ การพัฒนาคุณภาพชีวิต”
แต่ก็เชื่อได้ว่า ไม่ช้านาน หลังนวยุคย่อมต้องมีอภิปรัชญาของตนเองที่จะยืนยัน “ความไม่ยึดมั่นถือมั่น”