ศ.กีรติ บุญเจือ
Vitalism (ลัทธิชีวิตนิยม) เป็นลัทธิที่มีผลสืบเนื่องมาจาก อิมมานูเอล คานท์ ที่บอกว่าความรู้ของเราต้องผ่านโครงสร้างของสมอง ดังนั้นเราจึงไม่สามารถรู้ความเป็นจริง เรารู้แต่ความจริงเท่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น แกงมัสมั่นมีรสชาติอร่อย แล้วเราก็อยากรู้ว่าแกงมัสมั่นนี้มีเครื่องปรุงอะไรบ้าง เราไม่สามารถรู้ได้เลย เรารู้แต่ว่าเป็นแกงมั่สมั่นออกมาซึ่งกินแล้วอร่อย อิมมานูเอล คาน์ท ก็บอกว่ารู้เฉพาะแกง รู้ว่าอร่อย เราอยากจะรู้ว่ามีเครื่องปรุงอะไรบ้าง แต่เราไม่สามารถรู้ได้ ซึ่งคานท์ก็บอกว่า เรารู้เฉพาะตอนสุดท้ายที่เรากินนี้เท่านั้น แต่เครื่องปรุงเราไม่รู้ เรารับรู้ได้แต่สิ่งของที่สำเร็จรูปมาแล้ว เป็นปรากฏการณ์ทำให้เราได้กลิ่น ได้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
แต่เรารู้ว่ามันต้องผ่านกรรมวิธีมา แล้วมันก็จะต้องมีเครื่องปรุงที่สำหรับจะผ่านกรรมวิธี เพราะฉะนั้นจึงมี 2 อย่าง คือมีเครื่องปรุงและมีกรรมวิธี เนื่องจากคานท์บอกว่า เราเพียงแต่รู้กรรมวิธี แต่เราไม่รู้เครื่องปรุง ดังนั้นหนทางที่เราจะรู้ว่าเครื่องปรุงนี้คืออะไร คานท์จึงเปรียบเทียบว่าของที่เราไม่รู้ หรือเครื่องปรุงนี้มันคือ Reality(ความเป็นจริง) ที่เราไม่รู้ เวลาที่เราจะรู้ มันผ่านกลไกของสมองของเราออกมาเป็นความรู้ซึ่งความรู้เป็นของสำเร็จรูป ไม่ใช่ของในธรรมชาติ แกงมัสมั่นไม่ใช่ของในธรรมชาติ เป็นของที่ปรุงแต่งขึ้นมา
เราอยากรู้จะรู้ว่าของในธรรมชาติที่เอาเข้าไปนั้นเป็นอะไร เราไม่รู้ คานท์ได้บอกว่ามันมีกลไก กลไกนี้แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นแรก มันคล้ายๆกับการเตรียมน้ำแกง รูปแบบทางความคิดของสมอง แล้วก็ออกมาเป็นความรู้
ความรู้ของเรานั้นเป็นปรากฏการณ์
เหมือนในแกง เรารู้ว่ามันผ่านกรรมวิธีมา 2 ขั้นตอน แต่ตัว Reality แท้ๆตามธรรมชาติของธรรมชาติที่เราจะต้องไปหามัน เราไม่รู้ และไม่มีทางจะรู้ซึ่งลูกศิษย์ของคานท์นั้นก็เห็นด้วย และเห็นว่าความรู้ต่างๆมันได้ถูกปรุงแต่งขึ้นมาแล้วโดยกรรมวิธี
ปรัชญายุคปัจจุบันเริ่มก่อนหลังนวยุค ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีสมมุติฐานเหมือนกันคือ เราไม่สามารถรู้ความเป็นจริงในสภาพธรรมชาติ เรารู้เฉพาะในสภาพที่เป็น phenomena (ปรากฏการณ์)ที่มันผ่านกลไกของสมองแล้ว เราใช้เป็นปรัชญาบริสุทธิ์ไม่ได้ ดังนั้นเราจึงควรทำอย่างไร ?
เราอยากจะรู้ตรงนั้นว่าคืออะไรที่เป็น Reality : What is Reality ? ความรู้ของเรามันเป็นของถูกปรุงแต่งแล้ว มันไม่ใช่ของในธรรมชาติ นี้คือความคิดที่ลึกซึ้งของคานท์ ลูกศิษย์ของคานท์ต่อมาก็ได้คิดว่าที่คานท์ได้พูดอย่างนี้แล้วบอกว่า เรารู้กระบวนการของการปรุงแต่ง แต่เราไม่รู้ว่าวัตถุที่ธรรมชาติเอามาใส่นั้นเป็นอะไร ก็เลยสงสัยกันว่า กระบวนการที่คานท์ได้พูดนี้อาจจะไม่ใช่กระบวนการที่ถูกต้อง เพราะถ้าเป็นกระบวนการที่ถูกต้อง มันน่าจะรู้ได้ ดังนั้น จึงมีการที่จะปรับปรุงเรื่องของโครงสร้างสมอง ที่คานท์ได้พูดไว้เรื่องการปรับปรุงโดยความคิดนี้เขาได้จินตนาการเรื่องใหม่เรื่องหนึ่ง เราต้องมาศึกษาค้นคว้าว่ากลไกสมอง มี 2 ขั้นตอนอย่างที่คานท์ได้พูดไว้ จริงหรือไม่ ? โดยอาจจะมี 3 ขั้นตอนหรือ 4 ขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนเราต้องดูให้ชัดเจน เราสามารถจะทำได้
แต่ว่าที่สุดแล้ว พวกที่พยายามทำอย่างนี้ก็คือ กลุ่มหนึ่งซึ่งในประวัติปรัชญา เรียกว่า Post-Kantien พยายามที่จะปรับปรุงโครงสร้างทางสมองเพราะไม่แน่ใจความคิดคานท์ที่ว่ามีการจัดกลไกของสมองแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน เราจึงจะต้องมาสำรวจดูในเรื่องนี้ และมีวิธีสำรวจอย่างไร ? ก็เลยไปเข้าพวกกับวิชาจิตวิทยาที่เรียกว่าภาคทดลอง มีการทดลองและทดลองในเรื่องต่างๆของจิตวิทยา ในสมัยก่อนเรื่องจิตวิทยาเป็นเรื่องที่นักปรัชญานำมาคิดด้วยเหตุผล แต่พอมันมีวิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้ว ก็มีผู้ที่ศึกษาจิตวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ ดังนั้นพวก Post-Kantien ก็เปลี่ยนวิธีการก็คือ อาศัยเครื่องทดลอง วิธีการของจิตวิทยาภาคทดลองและได้เสนอทฤษฏีขึ้นมา ในที่สุดก็ได้เสนอกันคนละหลายแนวทางและไม่สามารถตกลงกันได้ นักปรัชญาได้มองว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ข้อสรุปที่เป็นปรัชญาจริงๆ
ในแนวทางปฏิบัติ เราใช้ Intuition เลยเรียกว่า Intuitionist ชี้ว่าเราใช้การหยั่งรู้ สมมุติว่ามีจิตเริ่มต้น มีจิตดวงเดียว จิตนี้มันมีพลัง แต่มันไม่สมบูรณ์ เมื่อมันเป็นจิต มันต้องคิดและเมื่อรู้ตัวว่าไม่สมบูรณ์ก็เลยอยากทำให้ตัวเองนั้นมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น มันจึงแสดงตัวเป็นสสาร สสารเป็นพลังที่ดิ้นรนต่อๆไป และจิตของ Hegel เป็นจิตที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ขึ้นกับใคร ในที่สุดก็เลยมี แบร์ชองก์ Bergson’s vitalist ของฝรั่งเศส บอกว่าในเมื่อไม่รู้อะไรจริงหรือเท็จ แต่สิ่งหนึ่งเมื่อเราสมมุติแล้ว มันน่าจะทำให้วิชาการต่างๆ มีการพัฒนาก้าวหน้าต่อไป เพราะถ้าเราคิดว่า ความเป็นจริงเริ่มต้นจากจิตที่ไม่สมบูรณ์แล้วมันเข้าสู่สมบูรณ์ เป็นการคิดแบบเยอรมัน ซึ่งเป็นการคิดที่สลับซับซ้อน ดังนั้น เราจึงลองมาศึกษาแบบง่ายๆดีกว่าว่า พลังตัวนั้น เป็นพลังชีวิต แบร์ชองก์ บอกว่า จุดเริ่มต้นนั้นเป็น Elan Vital (เอลอง วิตัน) ที่มาของ Vitalist แปลว่า “พลังที่กระโจนเข้าไปข้างหน้า” ที่ทำให้ชีวิตนั้นมีการพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ
ดังนั้น แทนที่จุดที่เริ่มต้นนั้นจะเป็นจิตที่ไม่สมบูรณ์อะไรต่างๆ เราไม่ต้องคิด โดยคิดแต่ว่า ในโลกนี้มีชีวิต มีพืช มีอะไรต่างๆ
จุดเริ่มต้นนั้นมันมีพลังในโลกนี้ ในสสารก็มีพลัง และตัวที่ทำให้เกิดพลังเปลี่ยนแปลงต่างๆก็คือ Elan Vital
พลังตัวนี้สำหรับแบร์ชองก์ในสมัยนั้นคิดว่าสสารเป็นของคงตัว ตัวของมันเองนั้นอยู่เฉยๆเหมือนก้อนหิน ที่ว่าเป็นสัญชาตญาณก้อนหิน แต่ในตัวมันมี Elan Vital แทรกเข้ามา ดังนั้นมันต้องพัฒนาไปเรื่อยๆและทำให้มีคุณภาพ แสดงว่าความจริงสสารนี้มันมีพลังพัฒนาตัวเองตลอดเวลาและเราซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นสสาร แต่เราได้สิ่งที่สูงกว่าสสารและทุกสิ่งในเอกภพ มันมีแต่ก้าวหน้าแม้กระทั่งสสารมันก็ไม่ได้อยู่เฉยๆ
พอมาถึงยุค Post Modern จึงทำให้มองเห็น Post Modern ทะลุปรุโปร่งจึงเลยกลายเป็นสัญชาตญาณก้อนหิน สัญชาตญาณชีวิต สัญชาตญาณอารักขายีน สัญชาตญาณปัญญา ซึ่งก็ได้ความคิดมาจากตรงนี้นี่เอง