อ.ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต
มนุษย์มองสิ่งต่างๆ ในแง่ปริมาณและคุณภาพ แต่กลับมีปัญหาแยกไม่ออกว่าต่างกันอย่างไร เพราะดูเหมือนจะเกี่ยวเนื่องกัน เช่น ข้าว 1 เกวียน เมื่อก่อนไม่เท่ากับข้าว 1 ตัน แต่ตอนนี้เท่ากันแล้ว ระยะทาง 1 ลี้ สมัยก่อนคือราว 650 เมตร แต่สมัยนี้เท่ากับ 500 เมตร อย่างนี้เรียกว่าทำปริมาณให้ตรงกัน
เมื่อรู้ปริมาณแล้วเราจึงค่อยบอกว่าดี/ไม่ดี ซึ่งเป็นคุณภาพ เช่น เรามีข้าว 1 ล้านตัน กับ เรามีข้าว 2 ล้านตัน ต่างกันอย่างไร
คุณค่าของมันคือมีแล้วเอาไปทำอะไร เป็นเรื่องของความมี/ความไม่มี และเมื่อเอาไปใช้แล้วใช้อย่างไรไม่ให้เสียประโยชน์ เช่น ขายข้าว 1 ล้านตันที่ความชื้น 5% กับ ข้าว 1 ล้านตัน ความชื้น 10% จะเห็นว่าทุกอย่างที่เขียนเป็นปริมาณ แต่เรากำลังคิดคุณภาพอยู่
ดังนั้นต้องแยกกันให้ชัดเจน จะได้พิจารณาเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพได้อย่างเหมาะสม
หากพูดรวมๆ กันจะทำให้งง เหมือนเอาเรื่องคุณภาพการศึกษากับปริมาณการศึกษาคือ การศึกษาขั้นต่ำมาเทียบกัน แล้วก็บอกว่า เราบังคับเรียน 9 ปี แต่เด็กอ่านหนังสือไม่ได้ อย่างนี้คือพูด 2 มิติพร้อมๆ กัน เทียบกันไม่ได้