อ.ดร.เอนก สุวรรณบัณฑิต
Rational Emotive Behavioral Therapy (REBT) นำหลักการของปรัชญาลัทธิสโตอิคของกรีกยุคเฮเลนนิสติกมาผสานกับหลักภาษาและความหมายเพื่อรักษาอาการทางจิต คิดค้นในปี 1955 ต่อมาได้พัฒนาตามแนวทาง cognitive science ร่วมกับแนวคิดลัทธิปัญญานิยมของกรีกยุคเฮเลนนิกจนเป็น Cognitive Behavioral Therapy (CBT) ในปัจจุบัน
ลัทธิสโตอิคส่งเสริมการมีชีวิตอย่างมีเหตุผลและใช้ชีวิตด้วยความพอประมาณ
ลัทธิปัญญานิยมส่งเสริมการเป็น healthy man ทั้งกาย ใจ และการดำรงชีวิตอย่างมี
คุณธรรม
นักจิตวิทยา อัลเบิร์ต เอลลิส ผู้ริเริ่มการบำบัดแนว REBT หนึ่งในแนวทางการบำบัดจิต แนวคิดพื้นฐานของ REBT มีที่มาจากปรัชญาสโตอิก โดยเฉพาะแนวคิดของ Epictetus และ General Semantics ของ Alfred Korzybski
แนวคิดของ REBT หลายส่วนใกล้เคียงกับหลักคำสอนของพุทธศาสนาและปรัชญาตะวันออกมาก เพราะเอลลิสศึกษาสิ่งเหล่านี้ควบคู่กับจิตวิทยา เขาฝึกหัดมาในแนวทางของจิตวิเคราะห์ ก่อนที่จะไม่พึงพอใจในวิธีการและผลลัพธ์ของมัน จนในที่สุดก็พัฒนาแนวคิด REBT ของตนขึ้นมา และเป็นต้นธารของการบำบัดจิตตระกูล CBT ที่ได้รับความนิยมที่สุดในปัจจุบัน
เอลลิสมองว่า ปัญหาของคนเราเกิดจากความเชื่ออันไร้เหตุผลที่เรายึดถือและใช้ประเมินค่าตัวตนของตนเอง ประเมินค่าผู้อื่น และประเมินค่าชีวิตของตน หากเราท้าทายความเชื่ออันไร้เหตุผลนี้ และแปรเปลี่ยนมันให้มีเหตุผล เราก็จะคลายจากความทุกข์ใจได้
เหตุผลในทีนี้ ไม่ได้เป็นเพียงเหตุผลเชิงตรรกะ แต่คำว่าเหตุผล หรือ logic ของปรัชญาสโตอิกคือ สิ่งที่สอดคล้องกับความจริงของโลกและชีวิต
ชีวิตที่ดีต้องมีจิตที่มีเหตุผลเป็นแกนกลาง man is rational animal ดังคำนิยามของอริสโตเติล