การวิจัยในประเทศไทยมีความเห็นต่างกันบางเรื่องในหมู่กรรมการผู้ควบคุม/สอบการวิจัยและวิทยานิพนธ์ เช่น การทำวิทยานิพนธ์ปรัชญาควรมีการนิยามศัพท์หรือไม่ ในทางปรัชญาย่อมต่องเสนอว่าไม่จำเป็นต้องมีทุกเล่ม เพราะงานปรัชญาบางแบบเป็นงานแสวงหาคำนิยามของเรื่องนั้นๆ ดังนั้นจะนิยามก่อนไม่ได้ แต่หากจะนิยามก็อาจทำได้กว้างๆ ให้ทราบว่างานนั้นจะพิจารณาเรื่องนั้นๆในความหมายใดในแง่ทิศทาง แต่ต้องระบุว่าที่สุดแล้ว งานปรัชญาคือรากฐานของการนิยามเรื่องนั้นๆ ซึ่งมีได้มากกว่าหนึ่ง สมมติเราทำวิทยานิพนธ์เรื่อง Mind in Buddhist Philosophy งานนี้เรากำลังจะศึกษาว่า Mind ในพุทธปรัชญาคืออะไร จะนิยามก่อนได้อย่างไร เพราะยังไม่ได้ศึกษาเลย แต่อาจพูดกว้างๆว่าเราศึกษาเรื่องนี้ในขอบเขตของ philosophy of mind เท่านี้ก็พอ ใครไม่เข้าใจก็แปลว่าไม่รู้เรื่องปรัชญา ไม่ควรเป็นกรรมการสอบ/ควบคุม
การเห็นตัวอย่างวิทยานิพนธ์ที่คนอื่นทำในโลกดีที่สุดครับ สังเกตดูว่ารูปแบบเขาเป็นอย่างไร แน่นอนว่าในทางปรัชญาไม่เคยเห็นวิทยานิพนธ์ปรัชญาที่มีรูปแบบให้คนเขียนนิยามศัพท์ก่อน เช่น Mind คืออะไร Buddhist Philosophy คืออะไร
เครดิต: ศ.สมภาร พรมทา