Square of Opposition ลักษณะของประโยคตรรกะ
ผู้แต่ง : รวิช ตาแก้ว
ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ
เพื่อสะดวกในการจัดจำลักษณะของประโยคตรรกะ (…) โปรดสังเกตผังข้างล่างนี้ ซึ่งเรียกกันว่าจัตุรัสแห่งการตรงข้าม (Square of opposition)
โปรดสังเกตว่า ข้างบนกระจายด้วยกัน ข้างล่างไม่กระจ่ายด้วยกัน ข้างซ้ายมือยืนยันด้วยกัน ข้างขวามือปฏิเสธด้วยกัน
ขอให้สังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า ในการแบ่งชนิดของประโยคตรรกวิทยา เราพิจารณาแบ่งตามชนิดของประธานและตัวเชื่อมเท่านั้น เราไม่ควรพิจารณาภาคแสดงเลย ถ้าเอาภาคแสดงมาร่วมพิจารณาด้วยก็น่าจะได้ชนิดของประโยคเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว คือ 8 ชนิด เพราะภาคแสดงอาจจะกระจายหรือไม่กระจายก็ได้ แต่ถ้าพิจารณากันจริง ๆ แล้ว ก็คงได้ชนิดของประโยคเพียง 4 ชนิดตามเดิม หาได้เป็น 8 ชนิดตามที่คาดหมายไว้ไม่
อนึ่งประโยคไวยากรณ์ประโยคคำถาม คำสั่ง และอุทาน แม้จะแปลงเป็นประโยคตรรกวิทยาได้ ก็ไม่ถือว่าเป็นประโยคตรรกวิทยา เพราะไม่อยู่ในข่ายที่จะนำไปใช้หาเหตุผลได้ คือ เข้ารูปนิรนัยไม่ได้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลไม่ได้นั้นเอง นอกจากประโยคคำถาม คำสั่ง หรืออุทานที่ไม่แท้ แต่เป็นโวหารของภาษา ความหมายที่แท้ก็คือประโยคบอกเล่า ถ้าเช่นนั้นก็อยู่ในข่ายของตรรกวิทยาด้วย เช่น “ใครบ้างจะไม่ชอบเรียนตรรกวิทยา” = ทุกคนชอบเรียนตรรกวิทยา “คนอย่างเขาน่ะหรือจะขี้เกียจเรียน” = เขาเป็นคนขยันเรียน “ออกไป” = ท่านเป็นผู้ต้องออกไป “คนใจดีอะไรอย่างนั้น” = คนนั้นเป็นคนใจดีมาก เป็นต้น