Plato on recollection การระลึกของเพลโทว์
ผู้แต่ง : รวิช ตาแก้ว
ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ
การระลึกหรือจะเรียกว่าการรื้อฟื้นความจำ (reminiscence) ก็ได้เป็นศัพท์ของเพลโทว์ (ก.ค.ศ.427-347)ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ
- โดยมีประสบการณ์เอง(by experience)
- โดยครูช่วยกระตุ้น(by learning)
- โดยการเพ่งพินิจ(by contemplation)
ตั้งแต่เริ่มเปิดตามองดูโลก ประสบการณ์จะช่วยให้เราระลึกมโนคติได้อย่างรวดเร็ว ครั้นไม่มีประสบการณ์ใหม่หรือจะมีใหม่ก็นานๆสักอย่าง เสียเวลาไม่คุ้มค่าการรอคอย ตอนนี้แทนที่จะรอประสบการณ์ใหม่ด้วยตนเอง เราก็ไปฝากเนื้อฝากตัวเล่าเรียนจากครูผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์มากกว่าเรา ครูที่ดีก็คือผู้ที่มีวิธีกระตุ้นให้ศิษย์ระลึกได้อย่างรวดเร็วถึงมโนคติที่ครูมีมาก่อนแล้วแต่ศิษย์ยังไม่มี ในที่สุดก็จะหมดภูมิรู้ของครู เพราะความรู้ที่ครูหามาได้โดยใช้เวลารื้อฟื้นความจำถึง 30 ปีนั้น อาจจะกระตุ้นให้ศิษย์ระลึกได้ภายในเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น เมื่อหมดภูมิรู้ของครูแล้ว จะเรียนต่อไปก็จะเสียเวลาเปล่าๆ ทางที่ดีควรลาไปทำการเพ่งพินิจเพื่อระลึกมโนคติเพิ่มอีก เมื่อได้มากพอสมควรแล้วก็ควรสอนถ่ายทอดให้อนุชนต่อไป ช่วยกระตุ้นให้ศิษย์ระลึกได้ในเวลาอันสั้น ศิษย์เหล่านั้นจะได้ทำการเพ่งพินิจต่อไป ดังนี้ความรู้ของมนุษย์ก็จะค่อยๆเพิ่มพูนขึ้น เมื่อเข้าใจมโนคติของสิ่งดี(Idea of the Good) ได้แล้ว ก็เป็นอันถึงจุดสุดยอด จิตจะมีความพอใจ อิ่มใจและมีความสงบสุข ไม่ตะเกียกตะกายอีกต่อไป มนุษย์ควรช่วยเหลือกันและกันให้ได้ความสุขเช่นนี้ เพราะเป็นความสุขแท้ถาวรคุ้มค่าแห่งความเป็นมนุษย์