Leibniz on truth ไลบ์นิซว่าด้วยความจริง
ผู้แต่ง : รวิช ตาแก้ว
ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ
ไลบ์นิซแยกความจริงนิรันดร (eternal truth) ออกจากความจริงโดยบังเอิญ (contingent truth)
ตัวอย่างความจริงนิรันดร (eternal, rational, universal)
1) ความจริงคณิตศาสตร์ เช่น 2 + 3 = 5 อวกาศมี 3 มิติ
2) กฎตรรกวิทยา เช่น ข้อความจะต้องจริงหรือเท็จ
3) หลักการความดีและความงาม
4) พระเจ้ามีอยู่
5) ทฤษฎีอภิปรัชญา
ตัวอย่างความจริงบังเอิญ (contingent, factual, existential)
1) ความมีอยู่ของสิ่งต่าง ๆ
2) สภาพของสิ่งต่าง ๆ
ลักษณะของความจริงนิรันดร
1) จำเป็น
2) ถ้าปฏิเสธจะเป็นไปไม่ได้
3) เข้าถึงสารัตถะ
4) จริงในทุกโลกที่เป็นไปได้
5) ส่วนมากของความจริงนิรันดรจะรู้ได้ก่อนประสบการณ์ แต่ไม่เสมอไป จึงเป็นไปได้ที่จะมีความจริงนิรันดรหลังประสบการณ์ เช่น รู้คณิตศาสตร์จากการทดลองสำหรับบางคน และมีความจริงบังเอิญก่อนประสบการณ์ เช่น คานที่วางฟัลครัมตรงกึ่งกลางพอดีจะสมดุลอยู่นิ่งตลอดกาล ซึ่งทดสอบจริง ๆ ไม่ได้ เข้าใจว่าคานท์คงได้ความคิดเรื่องสังเคราะห์ก่อนประสบการณ์ (synthetic a priori) จากนี้นี่เอง
ในหนังสือ ว่าด้วยศิลปะของการประกอบความคิด(On the Combinatory Art, 1666) ไลบ์นิซได้กล่าวถึงวิธีแตกความคิดออกเป็นหน่วยย่อยแล้วคำนวณแบบพีชคณิตเพื่อได้ระบบความรู้ที่ครบถ้วนและแน่ใจว่าจริง แต่ก็ให้เพียงแนวทางปฏิบัติ มิได้ทำให้ดูจริง ๆ
วิธีการหนึ่งที่ดึงเอาความจริงที่มีเหตุผลทั้งหมดเข้าสู่การคำนวณจะได้ภาษาสากล ซึ่งจะต่างจากภาษาธรรมดาราวฟ้ากับดิน สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของภาษานี้ ซึ่งก็คือ คำของมันจะควบคุมให้ทุกอย่างมีเหตุผลไร้ความผิดพลาด นอกจากการคำนวณผิดหรือได้ข้อเท็จจริงมาผิดพลาด