Kant’s Practical Reason เหตุผลปฏิบัติของคานท์
ผู้แต่ง : เมธา หริมเทพาธิป
ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ
เหตุผลปฏิบัติเป็นความรู้ด้วยญาณหยั่งรู้พิเศษ (special intuitive knowledge) ที่เข้าถึงนูเมอเนอ (Nounena) ตรง ๆ ไม่มีกลไกมาบิดเบือน ทำให้เรารู้และต้องเชื่อว่ามีตัวเราซึ่งเป็นตัวคงตัวยืนหยัดรับความรู้ต่าง ๆ ตลอดอายุขัย (Transcendental Ego)
ต้องมีโลกภายนอก (Universe) ซึ่งให้นูเมอเนอแก่ความรู้ของเราและต้องมีพระเจ้า (God) ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันกฎเกณฑ์ทั้งหลายในตัวเราและจักรวาล ความรู้ขั้นนี้อ้างประสบการณ์ยืนยันไม่ได้ อ้างเหตุผลพิสูจน์ก็ไม่ได้ ต้องรู้เองด้วยญาณพิเศษที่มีในทุกคน แต่เฉียบคมต่างกัน จึงเข้าถึงได้มากน้อยต่างกัน
จากความเชื่อพื้นฐาน 3 ประการนี้ทำให้เรารู้สึกมีคำสั่งเด็ดขาด (categorical imperative) ที่ทำให้เราต้องนับถือศาสนาด้วยศรัทธา คือต้องทุ่มเทถวายหัวแก่คำสอนของศาสนา และต้องทำตามหน้าที่ (duty to be done)
คำสั่งทั้ง 2 ด้านนี้แหละที่เรียกกันว่าเป็นมโนธรรม (conscience) และ หิริโอตัปปะ (the wrong to be avoided) เช่น ความรู้สึกว่าต้องดูแลพ่อแม่ที่เรียกันว่ากตัญญู (gratitude) ความรู้สึกว่าต้องไม่แต่งงานกับบุคคลในสายโลหิต (taboo) เป็นคำสั่งเด็ดจาดที่ไม่ต้องมีเหตุผล
ถ้าสั่งด้วยเหตุผลเรียกว่าคำสั่งตามเงื่อนไข (conditional imperative) เช่น สั่งว่าต้องเสียภาษีได้ และถ้าถูกจับได้ก็เสียใจยอมจ่ายค่าปรับ ถ้าไม่ถูกจับได้ก็ดีใจเพราะได้กำไรเป็นเงื่อนไข ผิดกับความอกตัญญูไม่ดูแลพ่อแม่ที่ต้องการความช่วยเหลือ มีแต่เสียใจ มโนธรรมตำหนิ ไม่มีวันจะดีใจด้วยเงื่อนไขว่าทุ่นค่าใช้จ่าย
เงื่อนไขต่าง ๆ ที่ปัญญาเสนอขึ้นมานั้น ล้วนแล้วแต่มาจากเหตุผลบริสุทธิ์ (ช่อง 8 ของแบบบริสุทธิ์แห่งความเข้าใจ) อันเป็นปัญญาระดับลึกกว่าเหตุผลปฏิบัติ