intuitionism’s ethic จริยธรรมลัทธิอัชฌัตติกญาณนิยม
ผู้แต่ง : ศุภชัย ศรีศิริรุ่ง
ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ
ลัทธินี้ ถือว่า มาตรการจริยะไม่สามารถได้มาจากการศึกษาธรรมชาติ เพราะการศึกษาธรรมชาติให้ความรู้ประเภทข้อเท็จจริงและทฤษฎีเกี่ยวกับข้อเท็จจริง นั่นคือ ให้ความรู้ในระดับคณิตศาสตร์ เป็นความรู้ที่ให้ประโยชน์แก่การดำรงชีพแต่ไม่เข้าถึงคุณค่าอันแท้จริงของมนุษย์ คุณค่าอันแท้จริงของมนุษย์ต้องรู้ด้วยวิธีเหนือกว่าประสบการณ์และเหตุผล นั่นคือ ต้องใช้อัชฌัตติญาณ ( Intuition) จึงได้ชื่อลัทธิว่า อัชฌัตติญาณนิยม (intuitionism)
ลัทธินี้บางทีก็ได้ชื่อว่าอุดมคตินิยม (idealism) เพื่อเน้นให้เห็นว่าตรงข้ามกับลัทธิธรรมชาตินิยม อัชฌัตติกญาณอาจจะนำเราไปสู่การรับประกาศิตของต้นตอแห่งคุณค่าของมนุษย์ หรืออาจจะเล็งเห็นคุณค่าเองก็ได้ แต่จะนิยามไม่ได้เพราะการนิยามที่ถูกต้องจะต้องมีประสบการณ์ธรรมเพียงพอ ลัทธินี้จึงมีมาตรการจริยะได้ 2อย่าง คือ
1) เชื่อประกาศิตของศาสนา ได้ชื่อลัทธิว่าประกาศิตนิยม (Authoritarianism)
2) เชื่อความสำนึกในหน้าที่ ได้ชื่อลัทธิว่าหน้าที่นิยม (Deontologist)