idealism on goodness ความดีของลัทธิมโนคตินิยม
ผู้แต่ง : พระปรียะพงษ์ คุณปัญญา
ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ
ฟิกเท เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีความชื่นชอบใน “ลัทธิมโนคตินิยม” (idealism) ลัทธินี้มีอิทธิผลโดยตรงต่อขบวนการโรแมนติกของศิลปะทุกแขนง บางคนจึงเรียกปรัชญาลัทธินี้ว่าเป็นปรัชญาโรแมนติก (romantic philosophy)
ฟิกเทมีความเชื่อว่า จากประสบการณ์ ( Erfahrung) ของตนเอง พบว่าประสบการณ์ต่างๆ นั้นถูกค้นพบโดยกระบวนการตระหนักรู้หรือหยั่งรู้ ผู้รู้ในฐานะเป็นผู้มีปัญญา ส่วนสิ่งที่ถูกรู้นั้นเป็นสมลักษณ์ (representations, Vorstellung) โดยได้แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ สมลักษณ์เสรี และสมลักษณ์จำเป็น ที่แยกเช่นนี้เพราะมุ้งเน้นความสำคัญเป็นหลัก เช่น การวาดภาพจิตนาการในการท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ เป็นสัญลักษณ์เสรี เพราะว่าเรามีอำนาจในการวาดภาพไปตามจิตนาการที่เราชอบใจ ส่วนการมองเห็นเครื่องบินบนท้องฝ้านั้น ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์จำเป็นเพราะว่าเราจำเป็นต้องเลือกอย่างเสรีไม่ได้ เหมือนอย่างจิตนาการ โดยวิธีการถอดสมลักษณ์ทั้ง 2 อย่างนั้นว่าเป็นสิ่งสากลหรือไม่ เราสามารถวิเคราะห์ได้จากประสบการณ์ 2 ประการคือ
1.), ความเข้าใจ ( intelligence)
2.),สมลักษณ์ ( Vorstellung, repreaentation)
โดยมนุษย์มีเสรีภาพในการที่จะเลือกคิดมูลบทสมลักษณ์นั้นจากความเข้าใจของตนเอง (intelligence – in –itself) หรือมาจากสิ่งภายในตัวมนุษย์ (thing – in – itself ) ซึ่งลัทธิมโนคตินิยมยึดเอาแบบหลังเป็นมูลบท ในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ อย่างสร้างสรรค์และเข้าใจในตัวเอง ซึ่งถ้ายึดแบบหลังก็จะเป็นลัทธิลัทธันตนิยม (dogmatism) ซึ่งจะค่อยๆ กลายเป็นสสารนิยมและนิยัตินิยมในที่สุด
ความรู้ที่เราเรียกว่า ปัญญา ที่มีสมรรถนะในการคิดอธิบายสิ่งรอบตัวได้อย่างมีเหตุมีผล ในปรากฏการณ์ต่างๆ นี้จัดว่าเป็นผลงานของปัญญาโดยตรง ความรอบรู้ในระบบนี้เราเรียกว่า “มโนคตินิยม” (idealism) ด้วยเหตุนี้นักปรัชญาที่ดีจึงจำเป็นต้องเลือกที่จะมองในด้านใดด้านหนึ่ง เพราะอาศัยความโน้มเอียงและความสนใจในแต่ละเรื่องที่แตกต่างกันไป
ดังนั้นมูลบทในการที่จะเข้าใจถึงปรัชญาลัทธิมโนคตินิยมนั้น จึงต้องอาศัยการพัฒนาการทางปัญญาตามภาวะทั้ง 3 ด้านได้แก่
1.), ภาวะพื้นฐาน
2.), ภาวะขัดแย้ง
3.), ภาวะสังเคราะห์
ซึ่งทั้งหมดเป็นอัตวิสัยในปัญญาทั้งสิ้น ทั้งสามสิ่งนี้เป็นสิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจและพัฒนาอย่างมาก