Hume on ethic จริยธรรมของฮิวม์
ผู้แต่ง : กันต์สินี สมิตพันธ์
ผู้ปรับแก้ : กีรติ บุญเจือ
ฮิวม์ ( David Hume, 1711-76 ) เป็นคนแรกที่แยกให้เห็นว่าภาษาจริยะไม่มุ่งบ่งข้อเท็จจริงเหมือนวิชาการต่าง ๆ แต่มุ่งบ่งคุณค่า
วิชาการมุ่งยืนยันว่าเป็นอะไร ( What is ) แต่จริยธรรมมุ่งประเมินค่าว่าควรเป็นอย่างไร ( What ought to be ) ใครจะว่าควรเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ความรู้สึกหรืออารมณ์ที่เขามีต่อการกระทำนั้น ต่างคนต่างแถลงไปตามความรู้สึกส่วนตัว จะวัดกันด้วยข้อเท็จจริงอะไรไม่ได้ จะใช้เหตุผลก็ไม่ได้ เพราะใครรู้สึกอย่างไรก็จะเลือกหาข้ออ้างที่สนับสนุนความเห็นของตนมาพิสูจน์อย่างลำเอียงด้วยกันทั้งนั้น
กล่าวอย่างรวบรัดได้ว่า สำหรับฮิวม์ เรื่องของจริยธรรมต้องแสดงด้วยคำบ่งคุณค่า ( Value-word ) ส่วนเรื่องของวิชาการต้องแสดงด้วยคำบ่งข้อเท็จจริง ( fact-word ) จะปะปนกันไม่ได้ เพราะมีความหมายกันคนละระดับ จะใช้พิสูจน์หรืออธิบายข้ามกันไม่ได้ ( Alfred Jules Ayer, 1-10-89) รื้อฟื้นหลักการนี้ขึ้นมาวิเคราะห์ใหม่และประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง จนได้ชื่อว่าเป็นบิดาของลัทธิภาษาวิเคราะห์